สถิติ
เปิดเว็บ | 04/04/2008 |
อัพเดท | 26/08/2024 |
ผู้เข้าชม | 408,838 |
เปิดเพจ | 533,613 |
สินค้าทั้งหมด | 3 |
สินค้า
ลิ้งก์ตัวอักษร
ตามหาความสุข
(อ่าน 259/ ตอบ 0)
นายแสนดี |
หัวข้อ :ตามหาความสุข
29/02/2012
, 10:32
๑. บทนำ ตามหาความสุข
เคยได้ยินว่าศาสนาเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ เลยสนใจอยากศึกษาพุทธศาสนา ศาสนาประจำตัวดูบ้าง เผื่อจะมีอะไรที่ทำให้ชีวิตดีกว่าเดิม หรือมีคำสอนอะไรที่สอนให้เข้าใจชีวิตได้มากกว่าการเดินตามทางเดินเก่าๆ ค้นหาไปเรื่อยๆ ใช้ชีวิตที่ขึ้นกับความหวังลมๆแล้งๆโดยไม่เคยเข้าใจทั้งตัวเองและสิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นกับตัวเรา จนได้มาพบคำตอบที่ตรงใจเพราะพุทธศาสนาสอนให้เรามีเป้าหมายอย่างที่คิดไว้ พุทธศาสนากล่าวถึงความน่ากลัวของสังสารวัฏ การเวียนว่ายตายเกิดซ้ำๆด้วยความไม่รู้ ถ้านึกถึงคำว่าชาติก่อนชาติหน้าแล้วนึกไม่ออกไม่เข้าใจไม่เป็นไร เพราะอาจรู้สึกว่าไกลไปพิสูจน์ยาก พูดใหม่ให้ฟังดูมีความหมายหน่อยดีกว่าว่าเราอาจจะไม่ต้องเห็นว่าชาติก่อนมีจริงหรือเปล่าแต่เอาแค่ว่าชาตินี้เดี๋ยวสุขเดี๋ยวทุกข์กำหนดควบคุมไม่ได้ เก็บความสุขเอาไว้ก็ไม่ได้แถมตัวความสุขยังมาจากการไปผูกกับการได้รู้สึกหรือความหวังว่าจะได้ครอบครองที่แสนจะเลื่อนลอยวนเวียนซ้ำไปซ้ำมาอยู่อย่างนี้ก็น่าเบื่อแล้ว ถ้าพุทธศาสนาจะมีทางออกดีๆ คิดว่าอย่างน้อยชีวิตที่เหลืออยู่ต่อไป ไม่ต้องทุกข์อีกจะทำให้เห็นประโยชน์ที่จะมาศึกษามากขึ้นหรือเปล่า? หากลองศึกษาด้วยความเข้าใจก็จะค้นพบว่า คำสอนในพระพุทธศาสนาไม่ใช่เรื่องยากๆ ไกลๆตัว ไม่ใช่เรื่องน่าเบื่อ ไม่ใช่เรื่องภาษาศาสตร์ที่ต้องท่องจำ ต้องรู้จักความหมายของภาษาบาลีในพระไตรปิฎก ไม่ใช่กิจเฉพาะของสงฆ์เพราะไม่ได้เฉพาะเจาะจงว่าต้องอยู่ในเพศบรรพชิตเท่านั้นถึงจะเรียนรู้ และเอาไปทำได้ ไม่จำกัดสถานที่ว่าต้องอยู่ในคอร์สปฏิบัติธรรมเท่านั้นถึงจะมีความสุขได้ และสุดท้ายก็ไม่ได้มีเงื่อนไขของกาลเวลา เพราะมีคนทดลองมาแล้วตั้งแต่ ๒๕๐๐ กว่าปีก่อน จนถึงทุกวันนี้ และทุกคนสามารถเรียนรู้ได้ทุกวัน เพราะธรรมะนั้น คือ ธรรมชาติหรือลักษณะตามปกติของทุกสิ่ง และทุกข์คือ เรื่องธรรมดาที่เกิดขึ้นได้ทุกที่ทุกเมื่อและกับทุกคน พุทธศาสนามุ่งตอบปัญหาเรื่อง ทุกข์ มุ่งหาสาเหตุแห่งทุกข์ ชาวพุทธที่เข้าใจคำสอนในพุทธศาสนา จะสามารถนำความทุกข์ ไปใช้เป็นทรัพยากรที่ดีในการทำให้เราเติบโต และค้นพบทางออกของคำว่า “ทุกข์” ได้ในที่สุด ทำไมเราต้องเลือกที่จะทุกข์ทั้งที่เราเลือกที่จะ “สุข” ได้ล่ะ |
